ศิลปวัฒนธรรมจีน

ศิลปกรรมจีน
1. เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบ
ศิลปะที่มีอายุยืนนานที่สุดเริ่มต้นตั้งแต่ปลายยุคหินใหม่ คือ เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีในวัฒนธรรมหยางเชา และเครื่องปั้นดินเผาสีดำขัดมันเงาในวัฒนธรรมหลงชาน ซึ่งทำขึ้นสำหรับพิธีฝังศพและเพื่อประโยชน์ใช้สอยทั่วๆไป
กรรมวิธีในการเผา เคลือบ การใช้สี และการวาดลวดลายเครื่องปั้นดินเผา มีพัฒนาการเรื่อยมาและรุ่งเรืองที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีการผลิตภาชนะดินเผาแบบพิเศษสำหรับชนชั้นสูงและแบบธรรมดาสำหรับสามัญชนทั่วไปเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งส่งเป็นสินค้าออกต่างประเทศและได้กลายเป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบที่เรียกว่า ลายคราม ในสมัยราชวงศ์หยวนและพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดเป็นเครื่องเบญจรงค์ถ้วยชามในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวคือ เป็นลายครามเคลือบสีทั้งห้า สีหลักคือ สีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียวหรือคราม และอาจใช้สีอื่นประกอบได้อีก เช่น สีม่วง ชมพู แสด น้ำตาล  
2. เครื่องสำริด
ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บรรพบุรุษ และใช้ในพิธีต่างๆตลอดจนใช้สอยในชีวิตประจำวัน ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง มีลักษณะพิเศษที่ลายประดิษฐ์และลอกเลียนแบบธรรมชาติ ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด
เครื่องสำริดค่อยๆหมดความสำคัญลงในสมันราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีวัสดุอุปกรณ์อื่นเข้ามาแทน เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เครื่องปั้นดินเผา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องสำริดก็ยังใช้ทางด้านพิธีกรรมอยู่ 
3. เครื่องหยก
เครื่องหยกจัดเป็นศิลปะแขนงสำคัญของจีนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการพบหยกสีน้ำตาลทำเป็นรูปขวานและแหวนในหลุมศพปลายสมัยหินใหม่ ชาวจีนยกย่องว่าหยกเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม 5 ประการ คือ ใจบุญ สมถะ กล้าหาญ ยุติธรรม และมีสติปัญญา ชาวจีนมีความผูกพันกับหยกตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ เพราะชาวจีนเชื่อว่าหยกเป็นอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาซึ่งสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย ความมีโชคแก่ผู้ครอบครองและทำให้อายุยืนด้วยดังนั้น
ชาวจีนในสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดจึงนิยมใช้หยกเป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้ต่าง เช่น พระจักรพรรดิใช้หยกเป็นตราพระราชลัญจกร พระธำมรงค์ พระคทา หรือพระที่นั่ง ชาวจีนทั่วไปมักจะให้ลูกหลานของตนพกหยกติดตัวไว้เสมอ ถ้าเป็นเด็กหญิงจะสวมกำไลหยก แต่ถ้าเป็นเด็กชายก็จะพกเครื่องใช้ที่ทำด้วยหยกหรือจี้พระหยก เมื่อเสียชีวิตหยกก็จะถูกฝังลงไปพร้อมกับศพ
การที่ชาวจีนฝังหยกลงไปด้วยกันกับศพนี้ เนื่องจากเชื่อกันว่าหยกสามารถรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยได้ ดังที่มีการขุดพบฉลองพระองค์หยกของพระจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อ 2,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันความเชื่อนี้ ส่วนประเพณีทำศพนั้น ชาวจีนมักจะนำหยกที่แกะสลักเป็นรูปกลมแบนมีรูตรงกลางซึ่งแทนสัญลักษณ์ของสวรรค์ที่เรียกว่า “ปิ” (Pi) มาวางไว้ด้านหลังศพ ส่วนบนท้องศพจะวางหยกรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโลก เรียกว่า “จุง” (Tsung) เพื่อให้สวรรค์หนุนหลัง
024

กำไลหยก
4. ประติมากรรม
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต สมัยราชวงศ์ฉินมีการสร้างสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี ทางด้านตะวันออกองเมืองซีอาน ภายในมีการขุดพบประติมากรรมดินเผารูปทหารเท่าคนจริงจำนวนหลายพันรูป และขบวนม้าศึก จัดตามตำราพิชัยสงคราม
025
งานประติมากรรมดินเผาเริ่มเสื่อมลงในราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีการนำหินมาสลักแทนและ มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลในสมัยราชวงศ์ชางสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีพุทธปฏิมาที่นิยมสร้าง คือ พระศรีศากยมุนี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอริยเมตไตรย พระอมิตาภะ
5. สถาปัตยกรรม
026
กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
027
พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
C12925853-140
กำแพงเมืองซีอาน
6. จิตรกรรม
  • มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ
  • งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
  • สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
  • สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
จิตรกรที่มีชื่อเสียง
  • กู่ไค่จิ้น (Ku Kai Chin) บิดาแห่งจิตรกรรมจีน
  • เซียะโห (Hsieh Ho) จิตรกรคนสำคัญที่มีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5
  • อู่เต้าจื่อ (Wu Tao-Tzu) ผู้นำในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา
  • หวางเว่ย ผู้วางรากฐานการวาดภาพทิวทัศน์ที่เชื่อมโยงเข้ากับลีลาของบทกวีนิพนธ์
  • หมี่ฟุ นำตัวอักษรมาผสมกับการวาดภาพ

7. วรรณกรรม
  •  วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ คัมภีร์ทั้ง ของขงจื๊อ วรรณกรรมที่สำคัญอีกเล่มคือ สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร์) บันทึกโดยซือหม่าเฉียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น
  • วรรณกรรมสามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของ ความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
  • ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้น ผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
  • ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน


  • จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องรับกรรม
  • หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน

ความคิดเห็น